'งานสารคดี

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พอลิเมอร์ในชีวิตประจำวัน

ในชีวิตประจำวันของเรามีการใช้ประโยชน์จากพอลิเมอร์อย่างมากมาย โดยพอลิเมอร์ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด คือ พลาสติก แต่รู้ไหมว่ารอบ ๆ ตัวของเรายังมีพอลิเมอร์ชนิดอื่น ๆ อยู่อีกมากมายที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของเราไม่ต่างจาก พลาสติกเลย พอลิเมอร์อื่น ๆ ในชีวิตประจำวันของเราที่ควรศึกษา ได้แก่ ยาง เส้นใย และซิลิโคลน เป็นต้น


พลาสติก (Plastics)
พลาสติกเป็นสิ่งที่มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากเครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ถูกผลิตขึ้นจากพลาสติกเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้พลาสติกเป็นที่นิยมใช้ในการผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นเพราะว่าพลาสติกมีคุณสมบัติที่พิเศษ คือ มีความเหนียว แข็งแรง เบา สามารถนำไปขึ้นรูปได้ง่าย ทนทานต่อสารเคมี ไม่เป็นสนิม และเป็นฉนวนไฟฟ้าและความร้อนที่ดี

พลาสติกแต่ละชนิดจะมีสมบัติที่แตกต่างกันไปตามโครงสร้างการเชื่อมต่อของมอนอ เมอร์ และลักษณะของมอนอเมอร์ และลักษณะของมอนอเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบ ซึ่งสามารถแบ่งพลาสติกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1) เทอร์มอพลาสติก (Thermo plastics) พลาสติกในกลุ่มนี้จะมีโครงสร้างแบบเส้นยาว หรือแบบกิ่ง มีสมบัติอ่อนตัวและหลอมเหลวได้เมื่อได้รับความร้อนและจะกลับแข็งตัวใหม่อีก ครั้งเมื่อลดอุณหภูมิลง จึงสามารถนำไปหลอมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งได้ ตัวอย่างของพลาสติกในกลุ่มนี้ ได้แก่ พอลิเอทิลีน พอลิโพรพิลีน เป็นต้น
2) พลาสติกเทอร์มอเซต (Thermoset plastics) พลาสติกในกลุ่มนี้จะมีโครงสร้างแบบตาข่ายหรือร่างแห เมื่อขึ้นรูปแล้วจะแข็งตัวและแข็งแรงมาก ทนความร้อนและความดัน แต่ถ้าได้รับความร้อนที่สูงมากเกินไปก็จะแตกหักและไม่สามารถคืนรูปได้อีก ตัวอย่างของพลาสติกในกลุ่มนี้ได้แก่ ฟีนอลมาลดีไฮด์เรซิน ยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ พอลิยูรีเทน เป็นต้น




ยางธรรมชาติ (Natural rubbers)

คือ พอลิเมอร์ที่เกิดจากต้นยางเรียกว่า พอลิไอโซปรีน (polyisoprene) เกิดจากมอนอเมอร์จำนวนมากที่มีชื่อว่า ไอโซปรีน (isoprene)

ยางธรรมชาตินี้เป็นยางที่ได้จากต้นยางพารา มีสมบัติต้านทานต่อแรงดึงได้สูง ทนต่อการขัดถู ยืดหยุ่นดีและไม่ละลายน้ำ แต่มีข้อด้อย คือ ยางธรรมชาติจะมีความแข็งและเปราะ ไม่ทนต่อตัวทำละลายอินทรีย์และน้ำมันเบนซิน ดังนั้นการจะนำยางธรรมชาติไปใช้ประโยชน์จึงต้องนำไปผ่านกระบวนการปรับปรุง คุณภาพของยางให้ดีขึ้นก่อน

กระบวนการปรับปรุงคุณภาพของยางธรรมชาตินี้เรียกว่า กระบวนการวัลคาไนเซชัน (Valcanization Process) ซึ่งจะช่วยให้ยางธรรมชาติมีความยืดหยุ่นได้ดีมากขึ้น มีความคงตัวสูง ไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์โดยกระบวนการวัลคาไนเซชันนี้ทำได้โดยการนำ กำมะถัน (S8) มาเผากับยาง ทำให้สายพอลิเมอร์ในยางถูกเชื่อมต่อด้วยโมเลกุลของกำมะถัน ยางจึงมีคุณภาพความคงทนมากขึ้น เรียกยางที่ผ่านกระบวนการเช่นนี้ว่า ยางวัลคาไนล์




เส้นใย (Fibers)

เส้นใยธรรมชาติ (Natural fibers) เป็นสิ่งที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์กันมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเส้นในธรรมชาติต่าง ๆ เหล่านี้เป็นพอลิเมอร์ที่มีอยู่ในพืช สัตว์และจากสินแร่ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรมชาติ เช่น เส้นใยเซลลูโลสที่มีอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของพืช ได้แก่ ป่าน ปอ ลินิน ฝ้าย นุ่น เส้นใยสับปะรด ใยมะพร้าว เป็นต้น เส้นใยโปรตีนซึ่งมาจากสัตว์ ได้แก่ ขนแกะ ขนแพะ และเส้นใยไหมซึ่งมาจากรังที่หุ้มตัวไหม เป็นต้น
เส้นใยจากธรรมชาตินี้มีข้อดี คือ น้ำหนักเบา เป็นฉนวนความร้อนที่ดี ใส่สบาย ปลอดพิษจากสารเคมี และมีความสวยงามเฉพาะตัว แต่ก็มีข้อเสีย คือ คุณภาพไม่คงที่ ไม่ทนความร้อน ดูดความชื้น ไม่ทนต่อสารเคมี ผลิตได้ครั้งละไม่มาก และมีปัญหาเรื่องเชื้อราและจุลินทรีย์ได้ ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงมีการพัฒนาเส้นใยสังเคราะห์ขึ้นเพื่อนำมาใช้ทดแทน ข้อด้อยต่าง ๆ ของเส้นใยธรรมชาติ





แหล้งอ้างอิง http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=3185

0 ความคิดเห็น: